TH
EN
MENU
หน้าแรก / แนะนำท่องเที่ยว

เชียงตุง เมือง 3 จอม 7 เชียง 9 หนอง 12 ประตู

เชียงตุงมีประวัติความเป็นมายาวนาน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาไม่น้อยกว่า 800 ปี โดยเริ่มนับตั้งแต่เจ้ามางยอยครองเมือง

สม�ั�ิ�ัวร� ��ีย��ุ�  �มือ� 3 �อม 7 ��ีย� 9 ห�อ� 12 �ระ�
 
 
          ตามตำนานเริ่มจากมีชายชื่อ โกปาละ หรือ โคบาล เป็นคนเลี้ยงวัวรับจ้าง ทุกวันที่ต้อนวัวไปเลี้ยงตามทุ่งนาเมื่อถึงเวลาแกะห่อข้าวก็มักจะแบ่งปันข้าวให้กับฝูงกาทุกครั้ง จนกาทั้งหลายต่างพากันชื่นชมคิดตอบแทนบุญคุณ จึงหามชายโคบาลไปเป็นเจ้าเมือง เมืองปจันตคาม (จันทะวชิรคาม) หรือเมืองจันทคาม จึงเรียกว่า “พญากาหาม” โดยสัญญาว่าจะฆ่าวัวเลี้ยงวันละตัว (บางตำราบอกว่าวันละ 10 ตัว)
 
         ต่อมานานวันเมื่อวัวหมดก็ฆ่าควายให้เป็นอาหารกา จนชาวเมืองทนไม่ไหวก็พากันเดินขบวนไปหอหลวงเพื่อคัดค้าน (แสดงว่าประชาธิปไตยมีมาช้านานแล้ว) พญาเจ้าเมืองก็งดการฆ่าวัวควาย ทำให้ฝูงกาเคียดแค้นจึงพากันคิดอุบายกำจัดเจ้าเมือง (นี่กระมังที่เป็นเหตุให้ชาวเหนือมีสุภาษิตว่า ถูกใจแร้ง บ่แน่นใจกา ถูกใจพญาบ่เปิงใจตุ๊เจ้า)
 
          พวกกาออกอุบายว่าจะพาพญากาหามไปครองเมืองแห่งหนึ่งกว้างสุดลูกหูลูกตา มีทรัพย์สมบัติมากมาย ด้วยความโลภพญากาหามก็ตกปากอยากไปครองเมืองแห่งนั้น และใช้วิธีเดิมคือ สานชะลอม แล้วให้กาหามไป แต่คราวนี้กาหามไปทิ้งที่เกาะแห่งหนึ่งในมหาสมุทร และสุดท้ายพญากาหามก็สิ้นชีพที่นั่นไปเกิดเป็นปูคำ (ทองคำ) เป็นพญาปูอยู่ในหนองน้ำตำมิลาบ
 
         ด้านเมืองจันทคามก็เกิดฝนตกห่าใหญ่หลายวันติดต่อกันทำให้เกิดน้ำท่วมเมือง ชาวเมืองก็หนีขึ้นป่าขึ้นเขาไป น้ำท่วมคราวนั้นทำให้ทุกแห่งหนเป็นหนองน้ำไปเสียหมดจึงได้ชื่อว่า “หนองตำมิลาบ” หรือหนองตำมิละ
 
         เวลาต่อมามีฤษีชื่อ “ตุงค” เป็นโอรสพญาว้อง (ว้องตีฟัง) เจ้าเมืองห้อ (ยูนนาน) เดินทางมาถึงที่หนองน้ำตำมิลาบแห่งนี้พร้อมพี่น้องอีก 3 ตน ตุงคฤษีใช้ไม้เท้าขีดแผ่นดินให้เป็นร่องลึกเพื่อให้น้ำไหลออกไปสู่มหาสมุทรจนเหลือแต่หนองขนาดใหญ่ต่อมาได้ชื่อว่า หนองตุง ตามชื่อฤษีตนนั้น แม่น้ำที่ไหลออกไปนั้นไหลย้อนจากทิศใต้ไปทิศเหนือจึงได้ชื่อว่า น้ำขืน หรือ น้ำขึน เป็นที่มาของชื่อ ไทขึน ในปัจจุบัน
 
         ถัดจากนั้นมีชาวจีนจากยูนนานมาตั้งรกรากอยู่ที่หนองดื่อมีเจ้าเมืองชื่อ “เจ้ากว้านเดื่อ” แต่อยู่ไม่ได้จึงหนีไป บ้านเมืองจึงตกเป็นของชาวละวะ หรือลัวะ สร้างบ้านเมืองมีเจ้าครองเมืองถัดมาคือเจ้ามังยอย ถัดจากนั้นก็มีเจ้ามังคุม และเจ้ามังเคียร ทั้งสองคนนี้เป็นเจ้าเมืองที่แต่งตั้งจากพญามังราย จึงมีหลักฐานรับรองว่ามีจริง โดยหลักฐานที่สามารถนับ พ.ศ. ได้เริ่มจากเจ้ามังยอยเป็นต้นมา
 
         ถัดจากนั้นก็มีเจ้าน้ำถ้วมซึ่งเป็นเชื้อสายพญามังรายมาครองเมืองเชียงตุง มีการถ่ายเท อพยพไปมาระหว่างเมืองเชียงใหม่ เชียงราย เชียงแสน กับเมืองเชียงตุง จนเกิดวัฒนธรรมของไทขึนขึ้นมีการนำเอาพุทธศาสนาผ่านมาจากพม่าและล้านนา จนเป็นเมืองที่มั่นคงทางพุทธศาสนาอีกแห่งหนึ่ง
 
         กษัตริย์ที่ชาวเชียงตุงนับถือและสร้างความมั่นคง ต่อสู้เพื่อชาวเชียงตุงคือ เจ้าก้อนแก้วรัตนะอินแถลง ถัดจากพระองค์มีเจ้าครองเชียงตุงอีก 2 องค์คือ เจ้ากองไต และสุดท้ายคือ เจ้าจายโหลง (ชายหลวง) เป็นเจ้าเมืององค์ที่ 46 ก่อนที่พม่าจะเข้าไปยึดครอง และจัดระเบียบการปกครอง จนนำไปสู่การรื้อคุ้มเจ้าฟ้าในปี พ.ศ. 2534 ถึงแม้หลายฝ่ายจะคัดค้านก็ตาม แต่พม่าก็ทำลายสิ่งเชื่อมโยงสถาบันกษัตริย์โดยนำเอาหอหลวงมาสร้างเป็นโรงแรม นิวเชียงตุง ในปัจจุบันนี้
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¹�à¸�ียà¸�à¸�ุà¸�  à¹�มือà¸� 3 à¸�อม 7 à¹�à¸�ียà¸� 9 หà¸�อà¸� 12 à¸�ระà¸� à¸ªà¸¡à¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¹�à¸�ียà¸�à¸�ุà¸�  à¹�มือà¸� 3 à¸�อม 7 à¹�à¸�ียà¸� 9 หà¸�อà¸� 12 à¸�ระà¸�
 
 
         ทีมงานนิตยสารชมรมภูวธรรมได้มีโอกาสเข้าไปในเชียงตุงคราวนี้เป็นเวลา 6 วัน ลดเวลาวันไปวันกลับก็เหลือเพียง 4 วันเท่านั้น อีกทั้งยังมีภาระกิจอื่นที่ต้องดำเนินการ 4 วันที่เหลือจึงเป็นวันที่พวกเราต้องเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หาความรู้มุมมองต่าง ๆ ให้มากเพื่อจะนำมาบอกเล่าสู่กันฟัง
 
         มีคนกล่าวว่าเชียงตุงในวันนี้ยังล้าหลังเมืองไทยไปหลายสิบปี ถ้ามองเรื่องสาธารณูปโภคแล้วเห็นจะจริง เพราะถนนหนทางยังคละคลุ้งด้วยฝุ่น การสัญจรต้องอาศัยรถเช่า ไฟฟ้ามีก็เหมือนจะไม่มี อินเตอร์เน็ตการสื่อสารไม่ต้องพูดถึง บางโรงแรมมี wi-fi ให้ใช้ แต่ต้องภาวนาให้มีไฟฟ้าด้วย
 
         ส่วนนักท่องเที่ยวที่ต้องการความสะดวกสบาย มีสิ่งอำนวยความสะดวก ที่นี่คงไม่ใช่เป้าหมาย แต่หากต้องการมาค้นคว้าหาสิ่งที่ขาดหายไปจากสังคมไทย โดยเฉพาะคนล้านนาแล้วที่นี่คือที่มั่นสุดท้ายก่อนจะมลายหายไปพร้อมกับกระแสโลกาภิวัฒน์ในไม่ช้านี้
 
         วัดเป็นเป้าหมายสำคัญที่ผู้เขียนสนใจเป็นอย่างยิ่ง รองลงมาเห็นจะเป็นลักษณะความเป็นอยู่คนเมืองเชียงตุง เผ่าพันธุ์ ชาติพันธุ์ ภาษาโดยเฉพาะภาษาไทขึน ที่ใกล้เคียงแทบจะเป็นอันเดียวกันกับภาษาไทล้านนา และไทลื้อ
 
         แต่วันแรกทริปแรกที่เราออกจากโรงแรมไกด์สาวไทใหญ่ที่พูดภาษาไทยระดับยอดเยี่ยมพาเราเดินเที่ยวชมกาดหลวง แรกเข้าไปก็เคืองใจนิด ๆ ว่าไม่ต่างกับตลาดแม่สาย แต่พอมองดี ๆ กลับมองเห็นความเป็นอยู่ของชาวบ้านแนบแน่นไปกับวิถีเมืองที่กำลังมาเยือน ตลาดแห่งนี้มีหลากหลายขายตั้งแต่ผักปลาไปจนถึงทองคำ โดยเฉพาะร้านทองนั้นผู้เขียนวนเวียนถ่ายรูป เฝ้ามองหลายครั้งจนเจ้าของร้านเริ่มมอง เพราะร้านทองที่นี่ไม่มีลูกกรง ไม่มี รปภ. พกปืนนั่งเฝ้า ไม่ต้องมีตำรวจ มีแต่เจ้าของร้านและลูกค้ายืนอยู่คนละฝั่ง ร้านเป็นเพิงเล็ก ๆ ในตลาดเท่านั้นไม่ใช่อาคารสิ่งปลูกสร้างมั่นคงอะไร แต่ที่นี่ไม่มีโจรปล้นร้านทอง อาจจะเป็นเพราะคนที่นี่รู้จักกันหมด และทางหนีทีไล่คงไม่ซับซ้อนเหมือนเมืองฟ้าเมืองอมรกรุงเทพฯ ประการหนึ่ง และประการสำคัญคนที่นี่เขายึดมั่นในความซื่อตรง ไม่มีเล่ห์เหลี่ยมสร้อยสนกลในมากนัก จะมีเพียงเล่ห์ขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ต้องระวัง เช่นทีมงานเดินไปถามราคาข้าวซอย (ก๋วยเตี๋ยว) พ่อค้าบอก 5,000 จ๊าด (150 บาท) ขณะกำลังมึน ๆ งง ๆ ไกด์ถามราคาอีกครั้งหนึ่งบอกว่า 1,000 จ๊าด (30 บาท) อันนี้ยังไม่แน่ใจว่าสื่อสารผิดหรือเจตนา
 
         จากกาดหลวงเรานั่งรถสามล้อที่จัดไว้ต้อนรับกลับไปวัดหัวข่วง หรือวัดราชฐานหลวงหัวข่วง ที่วัดนี้เป็นวัดที่มีสิ่งปลูกสร้างการสนับสนุนทางการศึกษาของพระสงฆ์จากคณะสงฆ์ไทย โดยพระเดชพระคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญกรุงเทพฯ
 
         การมาเที่ยววัดในเชียงตุงต้องเตรียมอุปกรณ์เตรียมใจสักนิด เพราะแต่ละวัดจะมีวิหารแบบเผ่าไท คือ วิหารคลุมเกือบครึ่งฝาผนังทำให้ข้างในมืดไปสักนิด การถ่ายภาพจึงต้องใช้ ISO สูง ๆ หากกล้องใครถ่ายเป็น RAW ไฟล์ได้แนะนำให้ใช้ และดัน ISO เกือบหมดรับรองได้ภาพแน่นอน แล้วค่อยใช้โปรแกรม Photoshop จัดการไฟล์ให้เรียบเนียนอีกที
 
         จากวัดหัวข่วงเราเดินไปต่อที่วัดพระเจ้าหลวงระแข่งหรือพระมหามัยมุนีจำลอง ซึ่งอยู่ใจกลางเมืองติดกับวัดหัวข่วง และเดินต่อไปดูหนองตุงผ่านโรงแรมนิวเชียงตุงที่อดีตคือ คุ้มหลวง หรือหอคำ
 
         ที่หนองตุงเรามองเห็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ชี้นิ้วมาที่เมือง สถานที่แห่งนั้นคือ จอมสัก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางทำนาย หรือพระชี้ (พระจี้นิ้ว) ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก
 
         คณะเราเดินทางไปเรื่อยเปื่อยเจอร้านขายของข้างทางก็แวะลงไปชิม อาหารพื้นบ้านถูกปากบ้างไม่ถูกบ้าง แต่สำหรับผู้เขียนแล้วอร่อยทุกอย่าง
 
         ถัดจากจอมสักเราไปจอมคำ อันเป็นพระธาตุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมือง 1 ใน 3 จอม ที่นี่หากมาแล้วจะสังเกตเห็นเจดีย์องค์เล็กเป็นเจดีย์ทรงลังกาคือ เจดีย์ทรงระฆังคว่ำอยู่ข้าง ๆ เจดีย์จอมคำ นั่นแหละคือ หลักฐานพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ได้เผยแผ่มาที่นี่ผ่านทางล้านนาเมื่อ 6 - 700 ปีก่อน
 
         ผ่านจอมคำเราไปต่อที่จอมมนหรือ จอมบน (เอกสารไทขึนจะเขียน จอมบน) ที่นี่มีต้นยางขนาดใหญ่เป็นไฮไลท์จนทำให้คนลืมพระธาตุจอมบน ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงตุง โดยคนเชียงตุงเชื่อว่า ทั้ง 3 จอม คือ จอมคำ (จอมตอง) จอมสัก และ จอมมน (จอมบน) เป็นสามเส้าที่ตั้งเมืองเชียงตุงให้มั่นคงสถาพรสืบต่อไป หากแต่มองผ่านความเชื่อไปแล้วนั่นคือ สามเส้านี้ประกอบด้วย สิ่งสำคัญแฝงลึกอยู่คือ พุทธศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมที่จะสร้างให้เชียงตุงมั่นคงเป็นปึกแผ่นนั่นเอง
 
         ส่วนข้อมูลตามป้ายและในเว็บต่าง ๆ ระบุว่าป็นต้นไม้ที่กษัตริย์อลองพญาปลูกไว้เมื่อครั้งจะไปทำศึกกับล้านนาและกรุงศรีอยุธยา แต่ดูแล้วอาจจะไม่ใช่ เพราะตามธรรมเนียมแต่โบราณแล้วการสร้างบ้านเมืองจะมีการปลูกไม้หมายเมือง เริ่มตั้งแต่สร้างเมือง เช่นที่เชียงใหม่จะมีต้นยางหมายเมืองที่วัดเจดีย์หลวง ที่นี่เช่นกัน คงจะปลูกไว้นานแล้วเป็นร่มเงายึดจิตใจชาวเชียงตุงมาช้านานไม่ใช่เพิ่งปลูกแค่ 2 ร้อยปีที่ผ่านมานี้ (มีคนเย้าเล่นว่าหากต้องการรู้ว่าต้นไม้จะอายุมากกว่า 200 ปีหรือไม่ต้องตัดแล้วนับวงปีดู ก็เข้าทีนะ แต่ปล่อยไว้อย่างนั้นแหละดีแล้วครับ)
 
         หลังจากถ่ายรูปบรรยากาศและสักการะพระธาตุจอมบนเสร็จแล้วก็เดินทางกลับไปแวะตลาดเม้วติท (Meilt Thit) ซึ่งมีความหมายคือ ตลาดเมืองใหม่ ถ่ายรูป ซื้อของทานเล่นก่อนกลับไปพักผ่อนออมแรงกันก่อน
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¹�à¸�ียà¸�à¸�ุà¸�  à¹�มือà¸� 3 à¸�อม 7 à¹�à¸�ียà¸� 9 หà¸�อà¸� 12 à¸�ระà¸� à¸ªà¸¡à¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¹�à¸�ียà¸�à¸�ุà¸�  à¹�มือà¸� 3 à¸�อม 7 à¹�à¸�ียà¸� 9 หà¸�อà¸� 12 à¸�ระà¸�
 
 
         วันแรกผ่านไป วันที่สอง สาม สี่ เราล้วนแต่เดินตลาดเที่ยววัด กระนั้นก็ยังพลาดไปอีกหลายวัด และมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมการเรียนการสอนที่โรงเรียนเชื้อชาติไท ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนภาษาไทใหญ่ ไทขึน ไทย และอังกฤษเป็นหลัก พอเห็นโรงเรียนแล้วรับรู้ถึงความตั้งใจอยากเรียนรู้ของคนเชียงตุงเป็นอย่างยิ่ง นักเรียนเดินถือตั่งไปนั่งเรียนในวิหารของวัดพระธาตุหัวเสือ เสียงนักเรียนท่องอักขระไทใหญ่แว่วลอดจากอาคารไม้ไผ่เซ็งแซ่ ทำให้คิดย้อนถึงเมืองไทยที่นักเรียนนั่งเรียนในห้องแอร์เย็นสบาย แต่กลับไม่ใส่ใจเล่าเรียนให้สมกับโอกาสที่ได้รับ
 
         วัดอีกแห่งหนึ่งที่ไปแล้วประทับใจคือ พระธาตุจอมดอย เป็นพระธาตุอยู่บนภูเขาไปค่อนข้างยากสักนิด คือต้องตั้งใจไปเท่านั้น ที่วัดแห่งนี้มีพระธาตุบรรจุพระเกศาธาตุของพระพุทธเจ้า ดังนั้นที่เจดีย์จะห้ามสตรีขึ้นไป ที่นี่นักท่องเที่ยวจะได้ชมวิวรอบพระธาตุสวยงาม ถึงแม้จะเป็นเดือนมีนาคมย่างเมษายนอากาศที่นี่ยังเย็นสบาย ตามตำนานแล้วที่นี่ห้ามเจ้าฟ้าขึ้นไปสักการะ เพราะชาวลัวะได้สาปแช่งไว้หากฝ่าฝืนจะมีอันทำให้ไม่สบาย
 
         จากวัดพระธาตุจอมดอยเราผ่านหมู่บ้านแอ่นหัวลังไปวัดเจ้าบุญทิพย์ซึ่งเป็นพระที่ยึดมั่นในศีลชาวบ้านเรียกว่า เจ้าศีลมั่น ที่วัดนี้มีเณรกว่า 70 รูป จึงเป็นจุดถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดนี้จะห้ามนำเนื้อสัตว์ทุกชนิดเข้าไปในเขตวัด
 
         ออกจากวัดเราแวะไปดูบ้านแอ่น ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขา เผ่าแอ่น (Enn Tribe) ซึ่งปลูกบ้านเรียงรายตามภูเขาเป็นภาพที่หาดูได้ยากอย่างยิ่ง เดิมทีคิดจะเอาเงินปลีกไปให้เด็ก ๆ ที่ยืนดูคณะของพวกเรา แต่ไกด์ได้ยินจึงห้ามแกมขอร้องว่าอย่าให้เงินเพราะจะทำให้เขาช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และหากต้องการช่วย ให้สนับสนุนด้วยการซื้อผ้าทอมือ ชาวคณะจึงซื้อผ้าเพื่ออุดหนุนให้ช่วยเหลือตัวเองได้
 
         ผ่านไป 4 วันเราได้รับประสบการณ์ที่ขาดหายไปจากเมืองไทย ได้เรียนรู้วัฒนธรรมความเป็นอยู่ ได้รู้จักผู้คน ได้มิตรภาพที่ดีงาม ถือว่าคราวนี้เราได้มากกว่าเสียถึงแม้การเดินทางจะขลุกขลักไปบ้างก็ตามแต่สุดท้าย เราต่างประทับใจเมืองเล็ก ๆ แห่งนี้ ประทับใจคนเมืองนี้ไปตลอดไม่รู้ลืม พร้อมทั้งขอขอบคุณ คุณส่องแสง จากมูลนิธิสร้างสุขไทยที่ทำให้พวกเราได้เที่ยวและเดินทางอย่างสะดวกสบาย และช่วงนี้มีกระแสการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม รวมไปถึงจะเอาเชียงตุงขึ้นเป็นเมืองมรดกโลกในปี 2020 ที่จะถึงนี้ วัฒนธรรมเป็นสิ่งปลูกสร้างในจิตใจ ที่ฝังรากหยั่งลึกเป็นเวลาช้านาน หากจะให้นักท่องเที่ยวได้ตระหนักรู้ในระยะเวลาเพียง 3-5 วันนั้นเห็นจะยาก และจะกลายเป็นโอกาสฉาบฉวยให้ผู้แสวงหาผลประโยชน์สร้างรายได้ให้กับตนเอง
 
         ดังนั้นการสร้างเชียงตุงเป็นมรดกโลกจึงเป็นการสร้างจากชาวเมืองในฐานะผู้อยู่อาศัยใช้ชีวิตประจำวันหาใช่เกิดจากคนภายนอก และการเป็นมรดกโลกนั้นต้องคิดคำนึงถึงผลได้ผลเสียอีกมากมาย...สวัสดีครับ...