TH
EN
MENU
หน้าแรก / แนะนำท่องเที่ยว

พระธาตุดอยสุเทพ “พระธาตุประจำปีเกิดปีมะแม”

มาเชียงใหม่ครั้งไหน ๆ ก็ตาม หากมีโอกาสจะไม่พลาดแวะไปนมัสการรูปปั้นครูบาศรีวิชัยที่เชิงดอยสุเทพ

สม�ั�ิ�ัวร� �ระ�า�ุ�อยสุ��� ��ระ�า�ุ�ระ�ำ�ี��ิ��ีมะ�ม�
 
 
          มาเชียงใหม่ครั้งไหน ๆ ก็ตาม หากมีโอกาสจะไม่พลาดแวะไปนมัสการรูปปั้นครูบาศรีวิชัยที่เชิงดอยสุเทพ แล้วเลยต่อไปไหว้พระธาตุเสมอ โดยนัยเพื่อการพักผ่อน ความรื่นเริงทางจิตใจ ความเงียบสงบที่แฝงอยู่กับความพลุกพล่านของนักท่องเที่ยว ยังเป็นสิ่งดึงดูดให้ผู้เขียนขึ้นมาท่องเที่ยวที่นี่ได้ไม่เบื่อเลยแม้แต่ครั้งเดียว
 
         รอบนี้ได้ขึ้นไปไหว้พระธาตุดอยสุเทพอีกครั้งหนึ่ง แต่เป็นการเจาะจงเพื่อนำภาพล่าสุดมานำเสนอให้ผู้อ่านได้ชมประกอบกับเกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับพระธาตุประจำปีเกิดแห่งนี้
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ�� à¸ªà¸¡à¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ��
 
 
         ปีนี้ปี พ.ศ. 2558 มีนักษัตรประจำเป็นแพะ ปีแบบขอมเรียก “ปีมะแม” ส่วนทางล้านนา ล้านช้าง เรียก “ปีเม็ด” เป็นปีแบบหนไทย สำหรับความเชื่อของคนล้านนา มีความเชื่อเรื่อง ชุธาตุ โดยดวงวิญญาณของคนที่จะมาเกิดใหม่จะมารวมที่พระธาตุแห่งใดแห่งหนึ่งตามที่ ตั๋วเปิ้ง (สัตว์ประจำนักษัตร) พาไปพักเพื่อรอไปปฏิสนธิ
 
          ความเชื่อเหล่านี้ทำให้คนล้านนามีความผูกพันกับพระธาตุ และหาโอกาสไปไหว้พระธาตุสักครั้งหนึ่งในชีวิตเพื่อเป็นสิริมงคล สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นกุศโลบายอันแยบยลที่ทำให้ชาวบ้านได้มีเหตุต้องเข้าวัด เพื่อส่งเสริมอนุรักษ์และนำเข้าสู่การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติธรรม
 
         หลังจากลงไปนมัสการครูบาศรีวิชัยอีกครั้งหนึ่ง คราวนี้มาเพื่อเก็บเรื่องราวของพระธาตุดอยสุเทพ  หลังจากกราบองค์ท่านเสร็จแล้ว กำลังจะขึ้นรถก็เห็นกำแพงมีรูปสัตว์ประจำนักษัตรอยู่เลยแวะไปดูและถ่ายรูป
 
         เมื่อเสร็จแล้วก็มองหาประวัติของอนุสาวรีย์ก็ไม่เห็น หาไม่เจอก็ลองเปิดดูในอินเตอร์เน็ตพลาง ๆ สำรองเผื่อจะได้ข้อมูลแต่ก็ไม่เจอ จนกระทั่งกลับมาถึงกรุงเทพฯ พยายามค้นหาก็เจอแต่เรื่องเล่า อมตะวาจา และสุดท้ายไปเจอข้อมูลการค้นคว้าของ ดร.เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์ ผู้รอบรู้ประวัติศาสตร์ล้านนาท่านหนึ่งเข้า ยิ่งอึ้งกับปริศนาการประดิษฐานอนุสาวรีย์อีกครั้งหนึ่ง เพราะไม่มีข้อมูล...
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ�� à¸ªà¸¡à¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ��
 
 
         …ครูบาศรีวิชัยท่านเป็นพระจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นนักปฏิบัติ ท่านได้บูรณะวัดวาอารามศาสนสถาน อีกทั้งจัดทำคำภีร์อีกเป็นจำนวนมาก ทำให้มีคนเลื่อมใสศรัทธา จนเป็นที่เลื่องลือ จนกระทั่งเกิดปัญหาหลังจากมีการประกาศ พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.121 (พ.ศ. 2446) กำหนดให้อุปัชฌาย์ที่จะบวชให้กุลบุตรได้จะต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางก่อน ทำให้ท่านต้องอธิกรณ์ข้อกล่าวหาว่าเป็นอุปัชฌาย์เถื่อนในปี พ.ศ. 2451 อย่างไรก็ตามท่านก็พ้นข้อกล่าวหานั้นมาได้ ในคราวนั้นทางบ้านเมืองได้กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุถึงกับเอากำลังตำรวจไปจับกุมท่านนำไปกักไว้ที่วัดเจ้าคณะแขวงลี้ถึง 4 คืน และหลังจากนั้นก็ถูกเรียกตัวไปสอบที่วัดพระธาตุหริภุญไชยอีก เป็นเวลา 23 วัน
 
         หลายปีต่อมาเรื่องราวยังไม่สิ้นสุดท่านถูกเรียกตัวให้เข้าไปชี้แจงที่กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2463) และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระมหาสมณะเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสเป็นการส่วนตัว และไม่พบว่ามีมูลความผิดจึงปล่อยให้ท่านกลับภูมิลำเนา โดยท่านสามารถเลือกอยู่วัดใดก็ได้ตามต้องการ เมื่อกลับมาแล้วไม่กี่ปีท่านก็ชักชวนประชาชนไปสร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพ
 
         การสร้างถนนโดยการริเริ่มนำโดยครูบาศรีวิชัย นักบุญจากวัดบ้านปาง เมืองลำพูน ได้ชักชวนชาวบ้านไปสร้างถนนขึ้นพระธาตุ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐเป็นประธานฝ่ายฆราวาส เป็นผู้เริ่มขุดดินเป็นปฐมฤกษ์ ตรงบริเวณหน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ในปัจจุบัน
 
         การก่อสร้างเริ่มต้นวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 ข่าวการสร้างถนนแพร่สะพัดทำให้คนทั่วทั้งล้านนาต่างหลั่งไหลมาช่วยงานจนเต็มเชิงดอยสุเทพประมาณว่า วันหนึ่งมีคนมาประมาณ 3-4 พันคน จนต้องแบ่งกันสร้างเพียงหมู่บ้านละ 10 วา เท่านั้น หลัง ๆ ต้องลดลงเหลือหมู่บ้านละ 2-3 วา ทำให้ถนนระยะทาง 11 กิโลเมตร ขึ้นดอยสูงชัน ใช้เวลาสร้างเพียง 5 เดือนเท่านั้นเอง นี่เป็นเพราะบารมีของนักบุญแห่งล้านนาองค์นี้ และพิธีเปิดใช้ถนนกำหนดขึ้นในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2378
 
         ช่วงเวลาดังกล่าวมีพระสงฆ์จังหวัดเชียงใหม่รวมกัน 50 วัด ขอลาออกจากการปกครองของสงฆ์เพื่อไปอยู่ในการปกครองของครูบาศรีวิชัย เป็นเหตุให้วัดอื่นขอแยกตัวบ้างประมาณได้ถึง 90 วัด ครูบาศรีวิชัย จึงถูกนำตัวลงไปกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง จนถูกโยงเข้าไปเป็นเรื่องการเมือง จนกระทั่งหลวงศรีประกาศ (ฉันท์ วิชยาภัย) ส.ส.จังหวัดเชียงใหม่ในขณะนั้น ได้เข้าไปช่วยเหลือจนครูบาท่านได้กลับภูมิลำเนาอีกครั้งหนึ่ง
 
         ครูบาท่านได้กลับไปบ้านปางอีกครั้งหนึ่ง และท่านอาพาธหนัก ช่วงนั้นคนที่ศรัทธา ก็หลั่งไหลมาเนืองแน่น ทางเชียงใหม่ก็พยายามจะพาท่านกลับมารักษาตัวที่นั่น แต่ครูบาท่านไม่ยอมไปและประกาศ อมตะวาจาไว้ว่า “ตราบที่แม่น้ำปิงไม่ไหลย้อนคืนสู่เมืองเชียงใหม่ฉันใด ตัวเราก็จักไม่กลับไปเหยียบเชียงใหม่อีกฉันนั้น ”
 
         สุดท้ายเมื่อท่านมรณภาพ  เมื่อวันที 22 มีนาคม พ.ศ. 2481 อัฐิของท่านถูกแย่งกันจนกระทั่งดินที่ตั้งนั้นก็ถูกขุดไปด้วย และมีการแบ่งไปประดิษฐานตามที่ต่าง ๆ มากมาย
 
         ตามเรื่องเล่ามุขปาฐะนั้นกว่ารูปปั้นนี้จะประดิษฐานได้ต้องรอให้น้ำปิงไหลย้อนกลับเสียก่อน ซึ่งก็เกิดขึ้นตอนที่เขื่อนภูมิพลเปิดใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2507 ทำให้น้ำปิงไหลเอ่อล้นย้อนกลับขึ้นไปถึงลำพูน...
 
         พวกเราทีมงานเริ่มเดินทางขึ้นเขาเพื่อไปนมัสการพระธาตุกันต่อไป หนทางลาดชันคดเคี้ยว เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวยังรู้สึกเหวี่ยงซ้ายเหวี่ยงขวา แต่ย้อนคิดไปถึงสมัยก่อนต้องเดินขึ้น และระลึกถึงบุญของท่านครูบาศรีวิชัยที่ทำให้เราได้มีทางขึ้นพระธาตุกัน
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ�� à¸ªà¸¡à¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ��
 
 
         เมื่อเราไปถึงที่เชิงดอยเราเดินขึ้นทางบันไดนาค ซึ่งเป็นบันไดที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2100 โดยพระมหาญานมงคลโพธิ และวิหารรายรอบนั้นก็เช่นกัน ท่านมาสร้างไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2081
 
          ข้างบนมีทางขึ้นอีกทางหนึ่งที่สะดวกสบาย คือ รถรางไฟฟ้า ค่าบริการ 30 บาท ถือว่าสะดวกสำหรับผู้สูงอายุและสิงห์ขี้เมื่อยทั้งหลาย ก็แล้วแต่ว่าจะเลือกแบบใด
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ��  สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ��
 
 
         นั่งพักพอให้หายเหนื่อย แล้วเดินเข้าไปนมัสการพระธาตุ และเช่นเดิม... ผู้คนหนาแน่นต่างมาถ่ายรูปบ้าง นมัสการพระธาตุบ้าง พวกเราไหว้พระธาตุแล้วเดินสำรวจหามุมถ่ายรูปโดยรอบ ซึ่งน่าแปลกที่มาหลายครั้งแต่ความรู้สึกกลับไม่เหมือนเดิมสักครั้ง
 
         ประวัติความเป็นมาของดอยสุเทพเริ่มขึ้นสมัยพญากือนา เจ้าครองล้านนาได้ข่าวว่าทางเมืองสุโขทัยมีพระเถระผู้เชียวชาญพระธรรมวินัย เป็นผู้รู้พระไตรปิฎกชื่อ พระสุมนะเถระ โดยเรียนมาจากพระภิกษุสงฆ์สายลังกาวงศ์ (ผ่านพระพม่าที่เมืองพัน) พระองค์สนพระทัยจึงโปรดให้คนมาอาราธนานิมนต์และขออนุญาตจากพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)
 
         พระสุมนะเถระเดินทางมาจากสุโขทัยพร้อมด้วยพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองศรีสัชนาลัย โดยแวะพักที่วัดพระยืน เมืองหริภุญไชย หรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ซึ่งพบหลักฐานจารึกวัดพระยืนถือว่า เป็นการนำเอาตัวอักษรแบบสุโขทัยที่คนล้านนา เรียกตัวฝักขาม ต่อมาแพร่หลายไปยังล้านช้างเป็นต้นแบบอักษรลาวในปัจจุบันนี้
 
         จากนั้นพระสุมนะเถระก็ย้ายไปอยู่วัดสวนดอก เมืองเชียงใหม่ เพื่อหาสถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยพระธาตุที่มีนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งประดิษฐานในเจดีย์วัดสวนดอกแห่งนี้ อีกส่วนหนึ่งก็หาสถานที่มงคลกันต่อไป
 
          พระเจ้ากือนาโปรดให้สร้างวิหารหลวงและสร้างพระเจดีย์ธาตุเพื่อบรรจุพระสารีริกธาตุ และวัดแห่งนี้ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือ
 
         ถัดจากนั้นไม่นานพญากือนาและพระสุมนะเถระก็หาสถานที่ เพื่อประดิษฐานพระสารีริกธาตุอีกองค์หนึ่ง โดยจัดช้างมงคลทรงเครื่องบรรทุกโกฏิไว้บนหลังช้างมงคลเดินออกทางประตูหัวเวียง (ประตูช้างเผือก) แล้วเดินต่อไปยังดอยพาสุเทวปัพพตา (วาสุเทวบรรพต, ดอยอ้อยช้างหรือ ดอยสุเทพ)
 
         เมื่อไปถึงยอดดอยสุเทพช้างมงคลก็หยุดคุกเข่าตรงนั้น พญากือนาโปรดให้บรรจุพระสารีริกธาตุและสร้างเจดีย์สูง 5 วางครอบไว้ ส่วนช้างมงคลก็ตายในวันนั้นเช่นกัน
 
         ต่อมาสมัยพระเมืองเกษแก้ว (ในตำนานเรียกท้าวอ้าย) มีศรัทธาเลื่อมใสบูรณะเจดีย์ใหม่ให้กว้าง 12 ศอก สูง 45 ศอก
 
         ในสมัยนั้นการไปมาหาสู่ระหว่างชาวเมืองเชียงใหม่กับชาวอังวะเป็นไปตามปกติ และการรับรู้เรื่องพระสารีริกธาตุบนพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นที่รู้จักเลื่องลือในสองประเทศเป็นอย่างดี
 
         เมื่ออิ่มเอมใจดีแล้วก็ออกมาเดินรอบนอก คราวนี้เห็นผิดหูผิดตามากก็คือ นักท่องเที่ยวต่างชาติทางยุโรปลดน้อยลง แต่นักท่องเที่ยวจีนมีจำนวนมาก และที่สำคัญก็มีหลายคนหลายกลุ่มแสดงพฤติกรรมไม่ค่อยเหมาะสมเท่าใดนัก (ต่อมาไม่กี่วันมีข่าวนักท่องเที่ยวชาวจีนใช้เท้าถีบระฆัง) แต่ก็ต้องทำใจ ถือว่าเป็นการฝึกจิตไม่ให้ยินดียินร้ายต่อสิ่งที่ได้เห็น
 
         เดินไปดูจุดชมวิวก็ไม่ค่อยเห็นอะไรเพราะเป็นช่วงฟ้าหลัว ท้องฟ้าไม่โปร่งใส แต่ก็เป็นอีกบรรยากาศหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตามเราต่างรู้สึกสุขใจเมื่อได้มาถึงสถานที่แห่งนี้ ยิ่งได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของสถานที่แล้ว ยิ่งรู้สึกหวงแหน อนุรักษ์สิ่งดีงามไว้ให้ลูกหลานได้เยี่ยมชมในภายภาคหน้า และอย่าลืมว่าสักครั้งหนึ่งควรจะมาที่นี่สักครั้งเป็นมิ่งมงคลสำหรับชีวิต... สวัสดีครับ
 
 
สมà¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ�� à¸ªà¸¡à¸�ัà¸�ิà¸�ัวรà¹� à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�อยสุà¹�à¸�à¸� â��à¸�ระà¸�าà¸�ุà¸�ระà¸�ำà¸�ีà¹�à¸�ิà¸�à¸�ีมะà¹�มâ��